Tag: ชาวญี่ปุ่น
เครื่องปรุงอาหารญี่ปุ่นที่ควรมีติดบ้าน
ขอเสนอเครื่องปรุงญี่ปุ่นที่คนไทยควรมีติดบ้านค่ะ เอามาปรุงอะไร ซื้อแบบไหนดี เรามาทำความรู้จักกับเครื่องปรุงสิบชนิดที่จะช่วยยกระดับการทำอาหารญี่ปุ่นที่บ้านของคุณค่ะ โชยุ (しょうゆ/醤油)โชยุ (しょうゆ/醤油) หรือ ซีอิ๊วญี่ปุ่น มีต้นตำรับมาจากจีนเช่นเดียวกับซีอิ๊วของไทยค่ะ เชื่อว่าเข้ามาญี่ปุ่นในยุคนารา (ช่วง ค.ศ. 710 – 794) ใช้ถั่วเหลืองหมักในถังไม้ขนาดใหญ่ มีสี กลิ่น รสชาติ เป็นเอกลักษณ์ค่ะปัจจุบันโชยุไม่ได้มีเพียงรสชาติเดียวนะคะ หลักๆมีรสเข้มพื้นฐาน รสอ่อน รสเค็มน้อย (ลดปริมาณโซเดียมให้น้อยลง) เป็นต้น และยังมีโชยุที่มีส่วนผสมอื่นผสมนอกจากถั่วเหลืองด้วยค่ะ เช่นโชยุผสมดาชิ (ซุปสต๊อกญี่ปุ่น) ขวดเล็กกว่า…
กินอาหารญี่ปุ่นตามฤดูกาล ภาคฤดูใบไม้ผลิ
หยุดกินตามเทรนด์แล้วลองมากินตามฤดูกาลแบบคนญี่ปุ่นดูซักครั้งมั้ย อาหารญี่ปุ่นแต่ละฤดูมักแตกต่างกันอย่างชัดเจนเนื่องจากสภาพอากาศแตกต่างกันตลอดปีและวัตถุดิบจากธรรมชาติก็จะต่างกันไปตามฤดูกาล เมื่อเข้าฤดูใบไม้ผลิ ต้นไม้ใบหญ้าผลิดอกออกผล อาหารในฤดูจึงเป็นพืชผักแรกฤดูและต้นอ่อนต่างๆ รวมไปถึงดอกซากุระ สัญลักษณ์ของฤดูใบไม้ผลิค่ะ ฤดูร้อน (นัตสึ/夏) ช่วงเดือน 6 – 8 อากาศร้อนพอๆกับที่ไทย แต่จะเหนียวตัวด้วยลมทะเลค่ะ อาหารประจำฤดูนี้ก็จะเย็นๆ หลายอย่างมีน้ำแข็งด้วยนะคะ เช่นเส้นหมี่ญี่ปุ่นในน้ำเย็นใส่น้ำแข็งจิ้มซุปเย็นๆอย่าง โซเมง (そうめん) ขนมหวานเย็นญี่ปุ่นมีถั่วกวนเป็นส่วนผสมหลักอย่างอันมิตสึ (あんみつ) น้ำแข็งไสคาคิโกริ (かき氷) และ อาหารจีนแบบญี่ปุ่นอย่างบะหมี่เย็นฮิยาชิชูกะ (冷やし中華) ซึ่งตามร้านอาหารจีนอาจจะขึ้นป้ายหน้าร้านว่า ฮิยาชิชูกะเริ่มขายแล้ว เพราะเมนูนี้ส่วนใหญ่จะมีเฉพาะหน้าร้อนค่ะ…
6 อาหารญี่ปุ่นแปลกๆที่(ไม่)น่าลอง
แนะนำอาหารแปลกๆของญี่ปุ่น จัดอันดับจากความกินง่าย ความแปลก และความถ่ายรูปขึ้น ใครกำลังหาอาหารญี่ปุ่นแปลกๆกิน หรือมีเพื่อนที่ชอบผจญภัยในโลกแห่งอาหารแปลกๆ ต้องจัดครับ แต่ถ้าไม่ไหวก็อย่าฝืนล่ะ โทริซาชิ ซาชิมิเนื้อไก่สดพูดถึงไก่แล้ว เรารู้จักกันในฐานะเนื้อที่ไม่ควรกินดิบๆ เพราะเป็นสัตว์เดินดินที่เล้าจะค่อนข้างสกปรก ทำให้อาจมีเชื้อโรคหรือพยาธิได้ ไม่เหมือนกับวัวหรือปลาทะเล แต่ว่าเอาจริงๆแล้ว ถ้าหากเลี้ยงในโรงที่สะอาด ดูแลเป็นอย่างดี ก็สามารถกินสดๆได้ครับ วิธีกินเท่าที่เห็นก็มีสองแบบ คือกินสดๆเหมือนซาชิมิทั่วไป หรือใช้ไฟย่างผิวให้เกรียมเล็กน้อย จิ้มกินกับโชยุเพียวๆ หรืออาจเพิ่มขิงบดหรือกระเทียมบดลงในโชยุ เชื่อว่าคนไทยฟังแล้วอาจจะกินยากไปบ้าง แต่ถ้าชินกับปลาดิบแล้วไม่น่ามีปัญหาอะไรครับในเรื่องของความแปลกนั้น ถือว่ายังเป็นอะไรที่ไม่ค่อยจะโด่งดังเอาวะเลย ร้านที่ขายมีน้อยมาก คนญี่ปุ่นเองก็ใช่ว่าทุกคนจะเคยกินนะครับ คนญี่ปุ่นที่เกิดมาไม่เคยกินเลยก็ยังมีอยู่ไม่ใช่น้อย jumbo…
โอเซจิเรียวริ’ อาหารปีใหม่ที่มีแต่ความหมายดีๆ
มาทำความรู้จักกับ“โอเซจิเรียวริ” อาหารวันขึ้นปีใหม่ของชาวญี่ปุ่นที่เชื่อว่าทานแล้วมีแต่ความศิริมงคลกัน โอเซจิคืออะไร“โอเซจิเรียวริ” (おせち料理) คืออาหารวันปีใหม่ ในอดีตชาวญี่ปุ่นบางส่วนมีความเชื่อว่าสามวันแรกของปีไม่ควรใช้เตาไฟหรือทำอาหาร จึงเตรียมอาหารไว้ล่วงหน้า โอเซจิเรียวริจึงนิยมทานกันในช่วงวันที่ 1-3 มกราคม ติดกัน 3 วัน โดยปกติจะจัดใส่กล่อง 5 ชั้น แต่ปัจจุบันนี้ก็ไม่ได้เคร่งครัดเท่าไรแล้ว ป้าเมโกะแอบคิดว่าคนญี่ปุ่นชอบตั้งธีมอาหารในแต่ละเทศกาลหรือโอกาสต่าง ๆ มาก ๆ เช่นวันคริสต์มาสต้องกินไก่ทอด หรือก่อนสอบต้องกินข้าวหน้าหมูทอดคัตสึด้ง เพื่อเป็นเคล็ดให้สอบผ่านเป็นต้น (คัตสึพ้องกับคำว่า ชนะ ในภาษาญี่ปุ่น) ที่ไทยเราก็มีแต่มักทานกันในงานบุญ งานแต่งงาน ซึ่งเป็นวันพิเศษในชีวิตไปเลยเอาล่ะ…
5 สิ่งในญี่ปุ่นที่ประทับใจไม่มีวันลืม
หลายครั้งหลายหนกับการเดินทางมาทำงานที่ประเทศญี่ปุ่น ยังคงเป็นการเดินทางแบบไปๆมาๆ ไม่เกิน 1 อาทิตย์ทุกๆครั้ง เรื่องที่หนักใจจนทำให้อยากกลับบ้านมากๆ ก็คือ ชีวิตที่เงียบเหงาความมีระเบียบเกินของคนในประเทศ ที่เคร่งครัดไปทุกเรื่อง ทุกคนรักษากฎ แต่ทุกอย่างโดยรอบดูน่าอึดอัดแต่จริงๆแล้วมันกลับตรงกันข้าม เพราะนี่คือการคำนึงถึงสิทธิของผู้อื่น ย่านที่อยู่อาศัย เงียบถึงเงียบที่สุดน่าแปลกใจ แต่ไม่ยากเกินกว่าจะเข้าใจ ว่าประเทศญี่ปุ่นนั้น แยกโซนเมือง และโซนที่อยู่อาศัยอย่างชัดเจนดังนั้น เมื่อเราเข้าเขตที่อยู่อาศัย ในเขตนั้นจะเงียบมากๆ ไม่มีมลพิษทางเสียงใดๆ jumbo jili ทุกบ้าน มีความเกรงอกเกรงใจ จะพูด หรือ จะเปิดเพลง เปิดทีวี ใดๆ…
รวมขนมหวานญี่ปุ่น 10 ชนิดที่น่าลิ้มลอง
ญี่ปุ่นคือดินแดนขนมหวาน ขนมญี่ปุ่นดั้งเดิมเรียกว่า วากาชิ (Wagashi) มีทั้งขนมที่หาทานได้ทั่วไป หรือมีขายแค่บางพื้นที่ บางฤดูกาล ส่วนใหญ่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวทั้งรูปร่างหน้าตาและรสชาติที่สะท้อนความเป็นญี่ปุ่นได้อย่างดี โยกัง (Yokan)โยกังหรือวุ้นถั่วแดงเป็นขนมโบราณที่หาทานได้ง่ายในญี่ปุ่น มีต้นกำเนิดมาจากประเทศจีน ทำจากถั่วแดงกวน (Anko) บวกกับเจลาตินและน้ำตาล นิยมทำเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า รสชาติออกหวานจากน้ำตาลและถั่วจึงนิยมรับประทานคู่กับชาเพื่อแก้เลี่ยน jumbo jili นอกจากจะทำจากถั่วแดงกวนแล้วก็ยังมีรูปแบบอื่นๆ และมีชื่อเรียกแตกต่างกันไปตามวัตถุดิบของโยกังประเภทนั้นๆ เช่น โยกังเกาลัด มัตชะ หรืแแม้แต่ช็อคโกแลต นอกจากนี้ก็ยังมีความเข้มข้นหลายระดับถ้าเป็นสูตรที่ใส่เจลาตินปริมาณน้อยจนมีรสสัมผัสเบาและสีใสเหมือนน้ำจะเรียกว่า มิซุโยกัง (มิซุ แปลว่าน้ำ) แต่ถ้าใส่เจลาตินในปริมาณมากก็จะเรียกว่า เนริโยกัง…
รู้จักการจัดจานอาหารญี่ปุ่นทั้ง 4 ฤดู
หลายท่านที่เคยไปร้านอาหารญี่ปุ่นจะต้องเคยสั่ง set อาหารญี่ปุ่นเพื่อมารับประทาน และมีไม่น้อยที่จะหยิบกล้องขึ้นมาถ่ายรูปอาหารเก็บเป็นที่ระลึก แต่เคยสังเกตุมั้ยว่ารายละเอียดการจัดวางของอาหารนั้นเป็นอย่างไรบ้าง ในครั้งนี้เราจะอยากจะแนะนำไห้รู้จักกับวิธีการจัดชุดอาหารแบบญี่ปุ่นว่าเป็นอย่างไร เอกลักษณ์ของอาหารญี่ปุ่นในแต่ละฤดูที่น่าสังเกตนั้นมีอะไรบ้าง เมื่อทราบเทคนิคดังกล่าวแล้วสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการถ่ายรูปอาหารให้ตรงจุดได้อย่างแน่นอน ชุดอาหารญี่ปุ่นหลัก อิจิจูซันไซโดยทั่วไปแล้ววัฒนธรรมการจัดชุดอาหารแบบญี่ปุ่นนั้นจะยึดหลัก อิจิจูซันไซ (一汁三菜) ซึ่งแปลว่าน้ำซุป 1 อย่าง และกับข้าว 3 อย่าง หมายถึงในชุดอาหารต่อท่านหนึ่งนั้นจะต้องมีข้าว กับข้าว และเครื่องเคียงรวมกัน 3 อย่าง เช่น ข้าวเสริฟพร้อมกับน้ำซุปอย่างน้ำซุปมิโซะ ซุปสาหร่าย อีก1ถ้วย ซึ่งหากนำมาวางบนถาดอาจจัดวางได้ดังนี้ jumbo jili…